วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กระดาษกล้วย

บทคัดย่อ

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพความเหนียวของเนื้อเยื่อกระดาษกล้วย มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำกระดาษจากกาบกล้วย 2) เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษด้วยแป้งมันต่อความเหนียวและสวยงาม  3) ศึกษาการย้อมสีกระดาษจากกาบกล้วยด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี
โดยมีวิธีการศึกษาคือ  การทำให้เยื่อจากกาบกล้วยเปื่อยยุ่ยด้วยการต้มกาบกล้วยด้วยสาร
ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 20% โดยน้ำหนัก    การฟอกเยื่อให้ขาวด้วยการแช่เยื่อในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้มข้น 20%  ศึกษาความเหนียวและความสวยงามของเยื่อกระดาษด้วยการเติมและไม่เติมแป้ง และศึกษาการย้อมเยื่อกล้วยแบบไม่ใช้สารช่วยย้อมกับการใช้สารช่วยย้อม สำหรับสีเคมีใช้จุนสีเป็นสารช่วยย้อม สีธรรมชาติใช้เกลือเป็นสารช่วยย้อม ผลการศึกษาพบว่า กระดาษจากเยื่อกาบกล้วยที่ผสมแป้งมันจะมีความเหนียวหนา เนื้อเนียนสม่ำเสมอ และฉีกขาดได้ยากกว่าที่ไม่ผสมแป้งมัน เยื่อกระดาษขนาด 60 กรัม เนื้อกระดาษไม่หนามาก และพับงอได้ง่ายกว่าเยื่อกระดาษขนาด 80 กรัม  การย้อมสีเคมีพบว่าการเติมจุนสีในสีเคมี      เนื้อกระดาษจะมีสีเข้มและสีจะติดได้มากกว่าแบบไม่เติมจุนสี ส่วนการย้อมสีธรรมชาติพบว่า การเติมเกลือในสีธรรมชาติ สีจะติดดีกว่าและเข้มกว่าการไม่เติมเกลือ 

บทนำ

 ที่มาและความสำคัญ
          กล้วยมีความผูกพันในวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นกล้วยในทุกๆส่วนมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ เช่นนำก้านกล้วยมาทำม้าก้านกล้วยให้เด็กขี่เล่น นำใบตองมาห่ออาหาร ใช้รักษาผิวหนังที่แดงปวดเนื่องจากถูกแดดเผา      นำกาบกล้วยทำเส้นใยหรือทำเชือกทอผ้า  และทำ
อาหารสัตว์   กล้วยยังนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งในชีวิตประจำวันด้วย  กล้วยเป็นผลไม้ที่มีเปลือกหุ้มเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ แต่วิธีการปอกเปลือกกล้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพียงใช้มือเด็ดปลายหรือจุก ก็สามารถปอกเปลือกได้ด้วยมือและรับประทานได้ทันที จึงเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย ดังคำโบราณว่า "ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก"
          ส่วนของต้นกล้วยที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นประจำส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการบริโภคได้แก่ ผลกล้วย ใบตอง ปลีกล้วย แต่ในส่วนของต้นกล้วยเราใช้ในพิธีกรรมต่างๆเช่น พิธีการแห่ขันหมากของไทยงานแกะสลักหยวกกล้วยให้สวยงามใช้ประกอบในงานพิธี  นอกจากนี้ก็มีการตัดเป็นชิ้นสำหรับเป็นฐานกระทง   นำต้นมาตากแห้งเป็นเชือกกล้วย  นำมาทำอาหารสัตว์ จนนำมาทำเป็นปุ๋ยในท้ายที่สุด เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าจึงนำเอาส่วนกาบกล้วยมาศึกษาวิจัยเป็นโครงงานกระดาษจากกาบกล้วย    เนื่องด้วยกล้วยเป็นพืชอายุสั้นออกผลครั้งเดียวแล้วต้นก็จะตายไป   หลังจากเก็บผลผลิตแล้วจึงเหลือส่วนลำต้นเป็นจำนวนมากเกินความต้องการใช้งาน  จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีปริมาณและมูลค่าการส่งออกกล้วยสดของไทย มีปริมาณรวม 18,478 ตัน มูลค่ารวม 584 ล้านบาท   สามารถบ่งชี้ถึงปริมาณต้นกล้วยจำนวนมากที่ถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย  หากนำส่วนลำต้นกล้วยมาศึกษาพัฒนาคุณภาพเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษจากกาบกล้วยจะเป็นการส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยเพิ่มมูลค่ากาบกล้วยให้มีประโยชน์ใช้สอยเช่นเดียวกับกระดาษสา  สามารถนำมาห่อของขวัญ ทำงานประดิษฐ์ 
          สำหรับกระดาษทำมือที่รู้จักกันดีและขายกันแพร่หลายในประเทศไทยคือกระดาษสาทำมาจากเปลือกสา  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ  ในสมัยโบราณทำกระดาษสาเพื่อนำมาใช้ทำร่มกระดาษ  และกระดาษว่าว  ต่อมาได้รับความนิยมจึงได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นและได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตจนสามารถส่งขายในประเทศและต่างประเทศ       งานกระดาษทำมือหรือHandmade มีเสน่ห์ในชิ้นงานเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน   ในภาคกลางที่มีต้นกล้วยอยู่เป็นจำนวนมากหากสามารถนำกาบกล้วยมาพัฒนาเป็นกระดาษกาบกล้วยที่มีคุณภาพและมีความสวยงาม    และสร้างความมีเอกลักษณ์ของกระดาษท้องถิ่นโดยพัฒนาเป็นของใช้ ของที่ระลึกที่สอดคล้องกับความโดดเด่นในแต่ละจังหวัดก็จะทำให้กระดาษกาบกล้วยเป็นที่ต้องการของตลาดในที่สุด  และอาจเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อศึกษาการทำกระดาษจากกาบกล้วย
      1.2.2 เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษด้วยแป้งมันต่อความเหนียวและสวยงาม
      1.2.3 ศึกษาการย้อมสีกระดาษกาบกล้วยด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี
    
ขอบเขตของการศึกษา

      - เยื่อกล้วยที่ใช้มาทำการศึกษาเป็นเยื่อกล้วยจากกล้วยน้ำว้าพันธุ์ไทย
      - ส่วนของกล้วยที่นำมาใช้ในกระบวนการทำกระดาษ คือส่วนกาบกล้วย

สมมติฐาน

     - กระดาษจากเยื่อกล้วยที่ผลิตจะสามารถใช้งานได้จริงเพราะ หนา เหนียว ทนทาน แข็งแรง
     - กระดาษจากเยื่อกล้วยที่ผสมแป้งมันจะมีความแตกต่างกว่ากระดาษที่ไม่ผสมแป้งมัน
     - กระดาษที่ย้อมสีและผสมสารช่วยติดสีจะทำให้สีติดเยื่อดีขึ้นซึ่งทำให้กระดาษมีสีเข้มขึ้น

ตัวแปรการศึกษา

ตัวแปรต้น        เยื่อกาบกล้วยที่ผสมแป้งมัน
ตัวแปรตาม       ความเหนียวของกระดาษ
ตัวแปรควบคุม   ปริมาณ กาบกล้วย  สารเคมี และสีที่ใช่ในการทำกระดาษ



นิยามศัพท์/นิยามเชิงปฏิบัติการ

แป้งมันสุก คือ ลักษณะของแป้งมีสีขาว เนื้อเนียน ลื่นเป็นมัน เมื่อทำให้สุกด้วยการกวนกับน้ำไฟอ่อนปานกลาง แป้งจะละลายง่าย สุกง่าย แป้งเหนียวติดภาชนะ หนืดข้นขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการรวมตัวเป็นก้อน เหนียวเป็นใย ติดกันหมด เนื้อแป้งใสเป็นเงา พอเย็นแล้วจะติดกันเป็นก้อนเหนียว ติดภาชนะ

วิธีดำเนินการทดลอง

การศึกษาค้นคว้าการทำกระดาษจากกาบกล้วยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำกระดาษจากกาบกล้วยและพัฒนากระดาษจากกาบกล้วยให้มีคุณภาพที่ดี

 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือพิเศษ

ชนิดของวัสดุอุปกรณ์                                                     
กะละมัง (Washing-up bowl)
เตาสำหรับต้ม (Stove for boiling)
กาบกล้วย (Leaf sheaf of banana tree)
เขียง (Cutting board)
เครื่องชั่ง (Weigh scale)
นาฬิกาจับเวลา (Stopwatch)
บล็อกตะแกรงลวด ขนาด A4 (Blog wire)
มีด (Knife)
เครื่องปั่นไฟฟ้า (Blender)

 สารเคมีและพืชที่ให้สีธรรมชาติ
จุนสี (copper sulfate)
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( H2O2)
แป้งมัน (Tapioca flour)
สีย้อมผ้า (Dyeing color)
เกลือ (Salt)
ใบเตย (Pandanus leaf)
กระเจี๊ยบ  (Roselle)
ขมิ้น (Oriole)
ดอกอัญชัน (Butterfly pea)

  ขั้นตอนการดำเนินงาน

           ขั้นตอนการทำเยื่อจากกาบกล้วย
1   ชั่งกาบกล้วย 1,000 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กแล้วล้างน้ำสะอาด
2     การทำให้เยื่อเปื่อยยุ่ย :
ต้มกาบกล้วยกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เข้มข้น  20% โดยน้ำหนัก จำนวน  3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ระยะเวลาต้ม 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า
 3    การฟอกเยื่อให้ขาวโดยแช่เยื่อในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์เข้มข้น 20% เป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด บีบน้ำให้แห้ง
 4     ชั่งเยื่อกาบกล้วยเป็น 60 กรัม กับ 80 กรัม

   ขั้นตอนการทำสีย้อมจากธรรมชาติ
1        เตรียมวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ใบเตย กระเจี๊ยบ อัญชัน ขมิ้น
2        หั่นวัตถุดิบจากธรรมชาต
3        นำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้า
4        บีบน้ำสีจากวัตถุดิบธรรมชาติ
 ขั้นตอนการทำน้ำแป้งสุก 2%
       ชั่งแป้งมัน 20 กรัม น้ำ 980 มิลลิลิตร นำไปต้มให้สุกจะได้น้ำแป้งสุก 

ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษแบบไม่เติมและเติมน้ำแป้งสุก
       ใช้เยื่อกาบกล้วย 60 กรัม ไม่เติมแป้งมัน เกลี่ยบนตะแกรงและนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
        ใช้เยื่อกาบกล้วย 60 กรัม เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
       ใช้เยื่อกาบกล้วย 80 กรัม เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
         ทดสอบความเหนียวของกระดาษทั้งหมดโดยการฉีก

   ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษและการย้อมเยื่อกาบกล้วยด้วยสีเคมี

  ใช้สีย้อมผ้าสีแดงผสมน้ำ 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง      
 ใช้สีย้อมผ้าสีแดงผสมน้ำ 150 มิลลิลิตร แล้วเติมจุนสี (จุนสี 20 กรัมต่อน้ำ 150 มิลลิลิตร) แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง  เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง  
ใช้สีย้อมผ้าสีเขียวผสมน้ำ 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วย เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง  
 ใช้สีย้อมผ้าสีเขียวผสมน้ำ 150 มิลลิลิตร แล้วเติมจุนสี (จุนสี 20 กรัมต่อน้ำ    150 มิลลิลิตร) แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วย เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง  

    ขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษและการย้อมเยื่อกาบกล้วยด้วยสีธรรมชาติ
 ใช้สีธรรมชาติจากใบเตย 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
 ใช้สีธรรมชาติจากใบเตย 150 มิลลิลิตร แล้วเติมเกลือ 10 กรัม แล้วแช่เยื่อกาบกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง  
 ใช้สีธรรมชาติจากกระเจี๊ยบ 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
ใช้สีธรรมชาติจาก กระเจี๊ยบ 150 มิลลิลิตร แล้วเติมเกลือ 10 กรัม แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาทีบีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง     
 ใช้สีธรรมชาติจากอัญชัน 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาที  บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง        
   ใช้สีธรรมชาติจากอัญชัน 150 มิลลิลิตร แล้วเติมเกลือ 10 กรัม แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง
 ใช้สีธรรมชาติจากขมิ้น 150 มิลลิลิตร แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง       
 ใช้สีธรรมชาติจากขมิ้น 150 มิลลิลิตร แล้วเติมเกลือ 10 กรัม แล้วแช่เยื่อกล้วย 30 นาที บีบสีออกจากเยื่อกาบกล้วยให้แห้ง เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน ราดบนตะแกรง และนำไปตากแดด แห้งแล้วลอกออกจากตะแกรง         
3.3.7        บันทึกผลการทดลอง
ผลการทดลอง

จากการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษกาบกล้วยและการพัฒนากระดาษกาบกล้วยให้สวยงาม ผลการทดลองมีดังนี้

ผลการทดลองปรับปรุงคุณภาพของกระดาษกาบกล้วย
ตารางที่ 1การเปรียบเทียบการทำกระดาษจากเยื่อกาบกล้วยในด้านการผสมแป้งและขนาดปริมาณของเยื่อกาบกล้วย 
วัตถุดิบ
เนื้อกระดาษ
สีเยื่อกระดาษ
ความเหนียว
เยื่อกาบกล้วย 60 กรัม (ไม่เติมแป้ง)
เห็นเยื่อชัดเจน เยื่อกระดาษจับตัวไม่สม่ำเสมอ เนื้อกระดาษค่อนข้างบาง เนื้อหยาบ พับงอกระดาษได้
สีขาวเหลือง มีสีน้ำตาลของใยกล้วยติดในกระดาษ
ฉีกง่าย พับงอเป็นรูปทรงได้
เยื่อกาบกล้วย 60 กรัม             ผสมน้ำแป้งมันสุก 2%
เนื้อเหนียว เยื่อกระดาษจับตัวกันแน่น  เนื้อเนียนสวย เนื้อกระดาษค่อนข้างหนา               พับงอกระดาษได้ 
สีขาวเหลืองอ่อน สีเนียน

ฉีกขาดยาก พับงอเป็นรูปร่างได้
เยื่อกาบกล้วย 80 กรัมผสมน้ำแป้งมันสุก 2%
เนื้อเหนียว เยื่อกระดาษจับตัวกันแน่น  เนื้อเนียนสวย    เนื้อกระดาษหนามาก  งอกระดาษได้ยากเนื้อกระดาษมีความคงตัว
 สีขาวเหลืองอ่อน 
ฉีกขาดได้ยาก พับแล้วเนื้อจะแตก กรอบ


จากตารางที่  1พบว่ากระดาษจากเยื่อกล้วยที่ผสมแป้งมันเนื้อกระดาษจะมีความเหนียว หนา และเนื้อเนียนสม่ำเสมอมากกว่ากระดาษที่ไม่ได้ผสมแป้งมัน และพบว่าเยื่อกระดาษขนาด 60 กรัม เนื้อค่อนข้างหนา พับงอได้ ดีกว่าเยื่อกระดาษขนาด 80 กรัม ที่หนากระดาษมีความหนามาก พับงอได้ยาก  

เยื่อกาบกล้วยขณะเปียก


เยื่อกาบกล้วย 60 กรัม







 เยื่อกาบกล้วย 60 กรัมผสมแป้ง 2%

เยื่อกาบกล้วย 80 กรัมผสมแป้ง 2%

ผลการทดลองปรับปรุงคุณภาพความสวยงามของกระดาษกาบกล้วย
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบการย้อมเยื่อกระดาษกาบกล้วยด้วยสีเคมี
ประเภทสี
สีเคมี
สีเยื่อและกระดาษขณะเปียก
สีเคมี
สีกระดาษเมื่อแห้ง
สีเคมีผสมจุนสี
สีเยื่อและกระดาษขณะเปียก
สีเคมีผสมจุนสี
สีกระดาษเมื่อแห้ง
สีแดง
สีแดงบานเย็นเข้ม
สีแดงบานเย็น
สีม่วงเข้ม
สีม่วง
สีเขียว
สีเขียวอมน้ำเงิน
สีเขียวเข้มมีบางจุดสีเขียวอ่อน  สีไม่สม่ำเสมอ
สีเขียวอมน้ำเงินเข้ม
สีเขียวเข้มติดทั่วกระดาษ

จากตาราง 2 พบว่ากระดาษที่ใส่จุนสีจะมีสีเข้มและติดกระดาษมากกว่าแบบไม่ใส่จุนสี ในสีเคมีสีเขียวสียังคงเดิม  ส่วนสีเคมีสีแดงที่ใส่จุนสีมีการเปลี่ยนแปลงจากสีแดงเป็นสีม่วง

ภาพการเปรียบเทียบการย้อมเยื่อกระดาษกาบกล้วยด้วยสีเคมี
สีกระดาษขณะเปียก
สีกระดาษขณะแห้ง

สีเขียว, สีเขียว+จุนสี


สีเขียว, สีเขียว+จุนสี




สีแดง, สีแดง+จุนสี


สีแดง, สีแดง+จุนสี







ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบกระดาษกาบกล้วยที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ


พืชที่ใช้ย้อมสี
สีธรรมชาติ

สีเยื่อและกระดาษขณะเปียก
สีธรรมชาติ

สีกระดาษเมื่อแห้ง
สีธรรมชาติผสมเกลือ
สีเยื่อและกระดาษขณะเปียก
สีธรรมชาติผสมเกลือ
สีกระดาษเมื่อแห้ง
ใบเตย

สีเขียว
ไม่ติดสี ขึ้นรา
สีเขียวเข้ม
ติดสีเขียวเล็กน้อย              เป็นจุดสีเขียวกระจายบางส่วน
กระเจี๊ยบ

สีม่วงอ่อนบางจุดชมพู
สีน้ำตาลอ่อน
สีม่วงอมเทา
สีน้ำตาลเข้ม
อัญชัน

สีฟ้าเข้มอมน้ำเงิน
ไม่ติดสี
สีน้ำเงินเข้ม
ฟ้าอ่อน
ขมิ้น

สีน้ำตาลอมส้ม
เหลืองอ่อน
สีน้ำตาลแดง
สีเหลืองอมส้มเข้ม

จากตาราง 3 พบว่ากระดาษกาบกล้วยที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติผสมเกลือ  สีจะติดดีกว่าและเข้มกว่ากระดาษที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติไม่ผสมเกลือ  สีบางสีก็ไม่เหมาะกับการย้อมเช่น ใบเตยและอัญชัน เพราะตอนกระดาษแห้งสีติดน้อยมากจนถึงไม่มี ส่วนกระเจี๊ยบตอนแห้งกระดาษสีเปลี่ยนแปลงไปจากตอนที่กระดาษเปียก  ส่วนสีจากอัญชันและขมิ้นยังคงมีสีโทนเดียวกันทั้งตอนที่กระดาษเปียกและแห้ง    


ภาพการเปรียบเทียบกระดาษกาบกล้วยที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ         
สีกระดาษขณะเปียก
สีกระดาษขณะแห้ง
ขมิ้น, ขมิ้น+เกลือ





ขมิ้น, ขมิ้น+เกลือ



อัญชัน, อัญชัน+เกลือ       




อัญชัน, อัญชัน+เกลือ  

     


ใบเตย, ใบเตย+เกลือ       


ใบเตย, ใบเตย+เกลือ       


กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบ+เกลือ       




กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบ+เกลือ       


สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

          จากการศึกษาการทำกระดาษจากกาบกล้วย ได้จัดทำเพื่อศึกษาวิธีการทำกระดาษจากกาบกล้วย และการปรับปรุงคุณภาพของกระดาษ   ได้ผลดังนี้

 สรุปผล
         ตอนที่ 1                                                                                         
อัตราส่วนของเยื่อกล้วยและแป้งมัน มีผลต่อเนื้อกระดาษ เช่น ความเนียนของตัวกระดาษและความเหนียวของกระดาษ ถ้าไม่ผสมแป้งมันเยื่อกระดาษจะไม่จับตัวฉีกขาดได้ง่าย ถ้าผสมแป้งมันจะช่วยให้เยื่อจับตัวได้ เนื้อเนียนฉีกได้ยาก
                 ตอนที่2
การผสมสารช่วยผสานสีช่วยให้สีติดกระดาษมากขึ้น เช่นการผสมจุนสีลงในสีเคมี
ก็จะช่วยให้สีติดมากขึ้น แต่จุนสีมีข้อจำกัดคือเหมาะกับการผสมสีบางสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาล ถ้าผสมสีอื่นสีจะเปลี่ยนไปจากเดิมได้ เช่น สีแดงจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
       ตอนที่3
         การผสมเกลือลงในสีธรรมชาติช่วยให้เยื่อติดสีดีขึ้น ได้แก่ สีจากขมิ้น กระเจี๊ยบ        
         กระดาษที่ย้อมด้วยสีใบเตยไม่ได้ผสมเกลือมีราขึ้น
         กระดาษจากใบเตยและอัญชันเมื่อกระดาษแห้งสีจะซีดจาง
         เกลือไม่ได้ช่วยให้สีติดได้หมดทุกสี เพราะจะมีบางสีที่ผสมแล้วก็ยังไม่ค่อยติด เช่น ใบเตย อัญชัน

อภิปรายผล
         กระดาษที่ผสมแป้งมันจะช่วยให้เยื่อจับตัวกันและแป้งจะเข้าไปแทนที่ช่องว่างในตัวกระดาษทำให้เนื้อกระดาษเนียนสม่ำเสมอ
             กระดาษกาบกล้วยที่ย้อมด้วยสีเคมีผสมจุนสีทำให้มีการติดสีดีเพราะมีมอร์แดนท์ วัตถุที่ธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่น โดยจุนสีเป็นมอร์แดนท์ทองแดง ซึ่งจุนสีเหมาะกับการย้อมสีบางสี เช่น แดงและสีน้ำตาล  หากนำมาย้อมกับสีอื่นผลที่ได้จะทำให้สีเปลี่ยนไปจากเดิม
       กระดาษกาบกล้วยที่ย้อมเยื่อด้วยสีธรรมชาติผสมเกลือ มีการติดสีที่ดีเพราะเกลือช่วยเปิดเส้นใยขยายตัวและบานออกทำให้สีซึมได้ง่าย
            การย้อมเยื่อด้วยสีธรรมชาติจะได้สีที่จาง  การย้อมแต่ละครั้งความเข้มของสีไม่คงที่
ในขณะที่สีเคมีให้สีที่สด  ความเข้มสีคงที่ แต่สีจากธรรมชาติมีความปลอดภัยกว่าสี 
    เคมี เพราะไม่มีสารพิษ
         ในการทำกระดาษสีธรรมชาติบางสีก็ไม่เหมาะกับการย้อมเพราะการทำกระดาษต้องใช้ความร้อนหรือแสงแดด สีบางสีเมื่อโดนแดดแล้วจะซีดจนสีหายไป เช่น อัญชัน
            สีเคมีให้สีที่ชัดกว่าแต่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต้องใส่อุปกรณ์ป้องกัน

 ข้อเสนอแนะ
1         ในการทดลองทำกระดาษกล้วยที่มีส่วนผสมเยื่อกล้วย 80 กรัมและแป้ง 2% ผลที่ได้กระดาษมีเนื้อเหนียวมาก แต่เมื่อพับแล้วเนื้อกระดาษจะกรอบแตด อาจเป็นผลมาจากน้ำแป้งสุกที่ต้มในปริมาณมากต่อครั้ง ทำให้น้ำแป้งสุกมีความข้นกว่าปกติ เพื่อให้ได้น้ำแป้งสุกที่เหมาะสมสำหรับผสมเยื่อกระดาษควรเตรียมน้ำแป้งสุกทีละ 1 ลิตร เพื่อให้ได้น้ำแป้งสุกที่มีเนื้อใส หากต้มคราวละปริมาณมากๆ น้ำแป้งสุกจะข้นมากอาจมีผลทำให้เนื้อหนาและกรอบ
2         ควรมีเครื่องมือในการประเมินความเข้มของสี เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการวิจัยครั้งต่อไป
3         ควรมีการเปรียบเทียบปริมาณของเยื่อต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อจะได้พัฒนาคุณภาพของกระดาษกาบกล้วยที่มีความหนาเหมาะสม พับงอได้เหมือนกระดาษจริง ในการวิจัยครั้งต่อไป


บรรณานุกรม
กรมหม่อนไหม.การฟอกย้อมด้วยวัสดุธรรมชาติ.สืบค้น           จาก qsds.go.th/qssc_ubn/file_upload/2015-07-11-9silk9.pdf(วันที่ค้นข้อมูล 5สิงหาคม2559).

กระดาษทำมือ.สืบค้นจาก:http://www.oknation.net/blog/papermaking/2007/05/30/entry-2 (วันที่ค้นข้อมูล 16 กรกฎาคม2559)

การผลิตกระดาษ.สืบค้นจาก:http://www.paperlandonline.com/knowledge.php?ID=7(วันที่ค้นข้อมูล : 17 มิถุนายน 2559).

การใช้สีธรรมชาติย้อมกระดาษ. สืบค้นจาก :https://sites.google.com/site/intrapornspenjit/toryod/reuxng-na-ru-2 (วันที่ค้นข้อมูล :  16 กรกฎาคม 2559).

ปิยวรรณ ปรสันติสุข. กระดาษรักษ์โลก....เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วย. สืบค้นจาก:http://www.moe.go.th/ (วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2559).
มุกดา เกตมณี และคณะ.(2541). กระดาษกล้วย. สืบค้นจาก : http://www.vcharkarn.com/project/570 (วันที่ค้นข้อมูล 17 มิถุนายน 2559).
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง. โครงงานผ้าสีสดใสด้วยสิ่งใกล้ตัว. สืบค้นจาก :
lpsci.nfe.go.th/psci/attachments/184_LLL1-5pdf (วันที่ค้นข้อมูล 5กรกฎาคม 2559).
สีที่ได้จากธรรมชาติ. สืบค้นจาก : www.oknation.net/blog/kidkids/2009/08/21/entry-5(วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2559).
สีธรรมชาติกับมนุษย์. สืบค้นจาก : http://kmipc6.blogspot.com/2011/05/blog-     
          post_30.html (วันที่ค้นข้อมูล 5กรกฎาคม 2559).
สารช่วยย้อม. สืบค้นจาก : https://sites.google.com/site/intrapornspenjit/toryod      /reuxng-na-ru-2 (วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2559).
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). กล้วย กล้วย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
เกสร สุนทรเสรี. (2542). กล้วย พืชสารพันประโยชน์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชนาธินาถ  ไชยภู. (2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือก
สะตอ : กรณีศึกษากลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ. สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ.ดวงแก้ว  ศรีลักษณ์. (2544). มหัศจรรย์พันธ์กล้วยในไทย. กรุงเทพฯ: แสงแดดเพื่อนเด็ก.รศ. ดร. สมพงศ์  จันทร์โพธิ์ศรี. (2544). โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

ภาคผนวก
ภาพกิจกรรมการทดลอง

ภาพขั้นตอนการทำเยื่อจากกาบกล้วย
 การหั่นกาบกล้วย
เตรียมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เข้มข้น 20%
 ต้มกาบกล้วยกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์
ลักษณะเยื่อขณะต้ม
การล้างเยื่อ
เตรียมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์เข้มข้น
แช่เยื่อด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ 30 นาที
ภาพตัวอย่างขั้นตอนการทำสีย้อมจากสีธรรมชาติ

แบ่งเยื่อเป็น 60 กรัม และ 80 กรัมล้างเยื่อกาบกล้วย

เตรียมสีจากวัตถุดิบธรรมชาติ
หั่นใบเตย
ปั่นใบเตย
บีบน้ำสีจากสีธรรมชาติ
 ภาพขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษแบบไม่เติมและเติมน้ำแป้งสุก

เกลี่ยเยื่อแบบไม่เติมแป้ง นำไปตากแดด



เติมน้ำแป้งสุก 2% จำนวน 1,000 ml

ผสมน้ำแป้งสุกกับเยื่อให้เข้ากัน
เทใส่ตะแกรงมุ้งลวด นำไปตากแดด
ภาพตัวอย่างขั้นตอนการทำเยื่อกระดาษ การย้อมเยื่อกาบกล้วยด้วยสีเคมีและสีธรรมชาติ


 เตรียมสีเคมีสีเขียว และสีเคมีใส่จุนสี 


แช่เยื่อกับสีใบเตย และสีใบเตยใส่เกลือ 30 นาที

เตรียมสีเคมีสีเขียว และสีเคมีใส่จุนสี


ผสมเยื่อกับน้ำแป้งสุก 2%


เทใส่ตะแกรงมุ้งลวด
 


นำไปตากแดด


ดูกระดาษ ถ้าแห้งแล้วสามารถลอกได้


ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ    เด็กชายกฤตณัฐ  
สกุล  มีประมูล
ชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
ที่อยู่  3 หมู่ 3 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210
เบอร์โทรศัพท์     061-8321515        


ชื่อ    เด็กชายพัชรพล

สกุล  แก้วเกษ
ชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
ที่อยู่  90/111 หมู่ 9 หมู่บ้านพุทธธานี ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน
จ.นครปฐม 73220
เบอร์โทรศัพท์    095-2484912


ชื่อ    เด็กชายสรรเพชญ

สกุล  สุรกูล
ชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
ที่อยู่  79 ถ.หมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงหลักสอง เขตบางแค
จ.กรุงเทพฯ 10160

 เบอร์โทรศัพท์    091-1515354